Get Adobe Flash player

เมนู

ผลงานวิชาการ

Data Center

สำหรับเจ้าหน้าที่

ล็อกอิน

คุณอยู่ที่นี่

หน้าแรก » คลังความรู้ » ความเข้าใจพื้นฐานต่อโรคโควิด

บทความความเข้าใจพื้นฐานต่อโรคโควิด ตอนที่ 3 โควิด การปกป้องผู้สูงอายุคือเป้าหมายสำคัญยิ่ง
     เสี่ยงสุดคือผู้สูงอายุ อันนี้ทุกคนน่าพอจะทราบแล้ว อัตราการป่วยหนักปางตายหรือเสียชีวิตนั้น พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ และคนที่มีโรคประจำตัวซึ่งส่วนใหญ่ก็คือผู้สูงอายุนั่นเอง ผู้สูงอายุ 60-70 ปีหากติดเชื้ออัตราตายอยู่ที่ 5% หากอายุ 70-80 ปี อัตราก็เพิ่มเป็น 10% เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นกับโรคประจำตัวด้วย
ส่วนในกลุ่มเด็ก วัยรุ่น วัยหนุ่มสาว นั้น หากติดเชื้อมักจะมีอาการไม่มากหรือไม่มีอาการ เหมือนเป็นหวัดทั่วไปราว 5 วัน 7 วันก็หายไปเอง ส่วนใหญ่ แทบจะไม่รู้ตัว ไม่ได้มาตรวจที่โรงพยาบาลด้วยซ้ำ กลุ่มนี้อัตราการตายต่ำมากๆๆ คือต่ำกว่า 0.2% หรือเท่าๆกับไข้หวัดใหญ่ทั่วไป
    แต่ที่น่ากลัวของคนหนุ่มสาวคือ การเป็นพาหะนำเชื้อไปสู่ผู้สูงอายุในบ้านนั่นเอง ดังนั้นสำหรับคนทำงานนอกบ้าน การไม่ให้มีการนำเชื้อกลับเข้าบ้านจึงสำคัญ การถอดหน้ากากอนามัยก่อนเข้าบ้าน เอาไปทิ้งหรือซักล้าง การล้างมือก่อนเข้าบ้าน กลับถึงบ้านรีบอาบน้ำถูสบู่สระผม เช่นนี้จะช่วยให้เราลดการนำเชื้อเข้าบ้านได้มากครับ
เวลาระดมบุคลากรทางการแพทย์หรืออาสาสมัครมาช่วยประเทศในยามวิกฤตขาดแคลนหมอพยาบาล จึงไม่ควรรับหมอพยาบาลเกษียณมาร่วมทีมครับ แต่ควรใช้นักศึกษาแพทย์ปีท้ายๆมากกว่า เพียงแต่ต้องนำมาฝึกฝนพิเศษก่อนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ เป็นต้น
    เป้าหมายสูงสุดทางระบาดวิทยา (ultimate goal) กรณีโรคโควิดคือ การปกป้องผู้สูงอายุไม่ให้ติดเชื้อ เพราะหากผู้สูงอายุได้รับเชื้อ อัตราป่วยเป็นโรคปอดบวมจะสูงมาก และโอกาสจะเสียชีวิตก็มากด้วย ต่างจากคนหนุ่มสาวติดเชื้อมักป่วยเพียงเล็กน้อยแล้วจะมีภูมิคุ้มกันอีกด้วย จึงไม่น่าเป็นห่วงมาก การไม่ให้ผู้สูงอายุติดเชื้อจึงเป็นเป้าหมายสำคัญในการต่อสู้ครั้งนี้
ดังนั้นนโยบายภาครัฐเวลาจะป้องกันความเสียหายจากโรคโควิด ก็อย่าให้เหมือนอิตาลี นั่นคือป้องกันอย่าให้คนสูงอายุติดโรค รัฐต้องดูแลแรงงานที่กลับบ้านนอกเพราะตกงาน นักเรียนหรือคนไทยที่กลับจากเมืองนอก รวมทั้งโรงพยาบาลที่มีคนไข้เบาหวานความดันสูงอายุมารับยา หากรัฐมีความละเมียดละมัยในการออกแบบระบบ ลดโอกาสในการติดเชื้อในผู้สูงอายุ ประเทศไทยจะผ่านโควิดไปได้โดยสูญเสียน้อยที่สุด ความเข้าใจที่ถูกต้อง จะนำมาซึ่งการวางระบบที่ถูกต้อง และเกิดความสูญเสียความสิ้นเปลืองให้น้อยที่สุดครับ

นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ 7 เมษายน 2563

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง








Facebook