Get Adobe Flash player

เมนู

ผลงานวิชาการ

Data Center

สำหรับเจ้าหน้าที่

ล็อกอิน

คุณอยู่ที่นี่

หน้าแรก » หน่วยงานภายใน » งานอาชีวอนามัย

ตา เป็นอวัยวะที่ช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้ ตามีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ

1. ส่วนประกอบภายนอกตา ได้แก่

1.1 คิ้ว (Eyebrow) ทำหน้าที่ป้องกันมิให้เหงื่อไหลเข้าตา
1.2 ขนตา (Eyelashes) ช่วยป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้าตา
1.3 หนังตา (Eyelids) ทำหน้าที่ช่วยปิดเปิดเพื่อรับแสงและควบคุมปริมาณของแสงสู่นัยน์ตา ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับตาและหลับตา เพื่อให้นัยน์ตาได้พักผ่อน นอกจากนี้การกระพริบตายังจะช่วยรักษาให้นัยน์ตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยปกติคนเรากระพริบตา 25 ครั้ง / นาที
1.4 ต่อมผลิตน้ำตา (Lacrimal Gland) ตำแหน่งอยู่บริเวณด้านบนของหางตา ทำหน้าที่ผลิตน้ำตาเพื่อหล่อเลี้ยงผิวตาให้ชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา โดยมีขอบตาทำหน้าที่เกลี่ยน้ำตาให้กระจายทั่วถึงในขณะที่มีการกระพริบตา น้ำตาส่วนใหญ่จะระเหยไปในอากาศ ส่วนที่เหลือระบายออกที่รูระบายน้ำตา ซึ่งอยู่ที่หัวตา รูนี้เชื่อมกับท่อน้ำตาที่ต่อไปถึงในจมูก ถ้าต่อมผลิตน้ำตาขับน้ำตาออกมามาก เช่นเมื่อร้องไห้ น้ำตาจะถูกระบายออกที่รูระบายน้ำตา และเข้าไป ในจมูก ทำให้คัดจมูกได้

2. ส่วนประกอบภายในดวงตา คือ ส่วนที่เรียกว่าลูกตา มีรูปร่างเป็นทรงกลมรี ภายในมีของเหลว ลักษณะเป็นวุ้นใสคล้ายไข่ดาวบรรจุอยู่เต็ม อวัยวะที่สำคัญของส่วนประกอบภายในลูกตา ได้แก่ ตาขาว ตาดำ แก้วตา และจอตา(Retina)หรือฉากตา

2.1 ตาขาว (Sclera) คือ ส่วนสีขาวของนัยน์ตา ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเหนียวไม่ยืดหยุ่นแต่แข็งแรง ทำหน้าที่หุ้มลูกตาไว้ ด้านหลังลูกตา มีกล้ามเนื้อยืดอยู่ 6 มัด ทำให้กลอกตาไปทางซ้ายขวา หรือขึ้น-ลงได้ ผนังด้านหน้าของลูกตาเป็นเนื้อเยื่อใสเรียกว่า กระจกตา (Cornea) ซึ่งหากมีจุดหรือรอยถลอกเพียงเล็กน้อยจะรบกวน การมองเห็น และทำให้เคืองตาได้มากถ้าเป็นฝ้าขาวทำให้ตาบอดได้
2.2 ตาดำ คือ ส่วนที่เป็น ม่านตา (Iris) มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อยืดหดได้และมีสีตามชาติพันธุ์ คนไทยส่วนใหญ่มีตาสีน้ำตาลเข้ม ดูเผินๆ คล้ายสีดำ จึงเรียกว่าตาดำ ตรงกลางม่านตามีรูกลม เรียกว่า รูม่านตา (Pupil) ซึ่งเป็นทางให้แสงผ่านเข้าทำให้เข้ารูม่านตาได้เหมาะ คือถ้าเราอยู่ในที่สว่างมาก ม่านตาจะหดแคบ รูม่านตาก็จะเล็กลง ทำให้แสงผ่านเข้าลูกตาได้น้อยลง เราจึงต้องทำตาหรี่ หรือหรี่ตาลง ถ้าอยู่ในที่สว่างน้อย ม่านตาจะเปิดกว้าง ทำให้แสงผ่านเข้าตาได้มากและทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เราจึงต้องเบิกตากว้าง
2.3 แก้วตา (Lens) อยู่หลังรูม่านตา มีลักษณะเป็นแผ่นใสๆ เหมือนแก้ว คล้ายเลนส์นูนธรรมดา มีเอ็นยึดแก้วตา (Ciliary muscle) ยึดระหว่าง แก้วตาและกล้ามเนื้อ และกล้ามนี้ยึดอยู่โดยรอบที่ขอบของแก้วตา กล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่ปรับแก้วตาให้โค้งออกมาเมื่อมาเมื่อมองภาพในระยะใกล้ และปรับแก้วตาให้แบนเมื่อมองในระยะไกล ทำให้มองเห็นภาพ ได้ชัดเจนทุกระยะ
2.4 จอตา หรือฉากตา (Ratina) อยู่ด้านหลังแก้วตา มีลักษณะเป็นผนังที่ประกอบด้วยใยประสาทซึ่งไวต่อแสง เซลล์ของประสาทเหล่านี้ทำหน้าที่เป็น จอรับภาพตามที่เป็นแล้วส่งความรู้สึกผ่านเส้นประสาทตา ซึ่งทอดทะลุออกทางหลังกระบอกตาโยงไปสู่สมอง เพื่อแปลความหมายให้เกิดความรู้สึกเห็นภาพ ทำให้เรารู้ว่าเรามองภาพอะไรอยู่

การมองเห็นภาพ
          คนเรามองเห็นภาพต่างๆ ได้เพราะแสงไปกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่นัยน์ตาเรา ผ่านกระจกตา รูม่านตา แก้วตา ไปตกที่จอตา เซลล์รับภาพที่จอตาจะรับภาพ ในลักษณะหัวกลับแล้วส่งไปตามเส้นประสาทสู่สมองส่วนท้ายทอย สมองทำหน้าที่แปลภาพหัวกลับเป็นหัวตั้งตามเดิมของสิ่งที่เห็น
ความผิดปกติของการมองเห็น
          เกิดขึ้นเพราะส่วนประกอบของนัยน์ตาที่ลักษณะผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการมองเห็นไม่ชัดได้ ตาพร่าได้ ที่พบบ่อยได้แก่

         1. ตาบอดสี (Color blindness) คือ เป็นลักษณะที่ไม่สามารถมองเห็นสีได้ถูกต้องตามเป็นจริง หรือมองเห็นสีผิดไปจากที่เป็นจริง เช่น คนตาบอดสีแดง และสีเขียว จะไม่สามารถแยกสีแดงและสีเขียวออกจากกัน หรือแยกสีทั้งสองออกจากสีอื่น

สาเหตุ เนื่องจากเซลล์รูปกรวยสีใดสีหนึ่งไม่ทำงานตั้งแต่ในวัยเด็กอายุประมาณ 4 เดือน ผู้ชาย 1ใน 20 คนจะมีอาการตาบอดสีชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่ในผู้หญิงหลายร้อยคนจึงจะมีภาวะตาบอดสีหนึ่งคน ส่วนมากจะพบตาบอดสีแดง กับสีเขียว มากว่าสีน้ำเงิน ปกติตาบอดสีเกิดจากกรรมพันธุ์ เป็นตั้งแต่กำเนิด ในบางครั้ง อายุ การรักษาโรคบางประเภท และ การติดเชื้อของจอตาหรือประสาทตา สามารถส่งผลกระทบสู่ตาที่มองเห็นสีปกติได้เช่นกัน

การแก้ไข ไม่มีวิธีการรักษาการบกพร่องในการมองเห็นสีตั้งแต่กำเนิดได้ การบกพร่องในการมองเห็นสีในบางกรณีที่เกิดขึ้นในภายหลังอาจช่วยได้โดยการผ่าตัด เปลี่ยนวิธีการรักษาโรค หรือรักษาโรคทางดวงตา ที่ก่อให้เกิดการมองเห็นสีบกพร่อง หากไม่สามารถแยกสีต่างๆได้ ควรที่จะพบจักษุแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย การตรวจพบอาการตาบอดสีตั้งแต่ระยะเริ่มต้นสามารถป้องกันปัญหาที่อาจเกิดได้ในช่วงที่เข้าโรงเรียน

การทดสอบตาบอดสี

         2. สายตาสั้น (Myopia) คือ การที่มองเห็นเฉพาะ
สิ่งที่อยู่ใกล้ๆ สิ่งที่อยู่ไกลจะเห็นไม่ชัด

สาเหตุ เกิดจากลูกตามีความยาวมากกว่าปกติ ทำให้ระยะระหว่างแก้วตา และจอตาอยู่ห่างกันเกินไป ทำให้ภาพของสิ่งที่มองตกก่อนจะถึงจอตา

การแก้ไข ใส่แว่นตาที่ทำด้วยเลนส์เว้า เพื่อช่วยหักเหแสงให้ลงที่จอตาพอดี

         3. สายตายาว (Hyperopia) คือ การที่มองเห็นเฉพาะสิ่งที่อยู่ไกลๆ สิ่งที่อยู่ใกล้จะเห็นไม่ชัด

สาเหตุ เกิดจากลูกตามีความสั้นกว่าปกติ หรือผิวของแก้วตาโค้งนูนน้อยเกินไป ทำให้ภาพของสิ่งที่มองตกเลยจอตาไป ทำให้มองเห็นภาพใกล้ๆไม่ชัดเจน
การแก้ไข ใส่แว่นตาที่ทำด้วยเลนส์นูน เพื่อช่วยหักเหแสงให้ลงที่จอตาพอดี

         4. สายตาเอียง (Astigmatism) คือ การที่มองเห็นบิดเบี้ยวจากรูปทรงที่แท้จริง บางคนมองเห็นภาพในแนวดิ่งชัด แต่มองภาพในแนวระดับมองไม่ชัด เช่น มองดูนาฬิกา เห็นเลข 3,9 ชัด แต่เห็นเลข 6,12 ไม่ชัด

สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากความโค้งนูนของแก้วตาไม่สม่ำเสมอ จอตาจึงรับภาพได้ไม่ชัดเจนเท่าทุกแนว
การแก้ไข ใส่แว่นตาเลนส์พิเศษ รูปกาบกล้วย หรือรูปทรงกระบอก แก้ไขภาพเฉพาะส่วนที่ตกนอกจอตา ให้ตกลงบนจอตาให้หมด

         5. ตาส่อน ตาเอก ตาเข ตาเหล่
          ตาส่อน และ ตาเอก หมายถึง คนที่มีตาดำสองข้างอยู่ในตำแหน่งไม่ตรงกัน ถ้าเป็นมากขึ้นเรียกว่า ตาเข และถ้าตาเขมากๆ เรียกว่า ตาเหล่ ซึ่งจะมองเห็นภาพเดียวกันเป็น 2 ภาพ เพราะภาพจาก ตาสองข้างทับกัน ไม่สนิท

สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากกล้ามเนื้อบางมัดที่ใช้กลอกตา อ่อนกำลัง หรือเสียกำลังไป กล้ามเนื้อมัดตรงข้าม ยังทำงานปกติ จะดึงลูกตาให้เอียงไป ทำให้สมองไม่สามารถบังคับตาดำให้มองไป ยังสิ่งที่ต้องการ เหมือนลูกตาข้างที่ดีได้
การแก้ไข ควรปรึกษา จักษุแพทย์ในระยะที่เริ่มเป็น แพทย์อาจรักษาโดยการใช้แว่นตา หรือ ฝึกกล้ามเนื้อที่อ่อนให้ทำงานดีขึ้น หรืออาจรักษาโดยการผ่าตัด

อันตรายจากแสงสว่าง

การถนอมดวงตา

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง








Facebook