Get Adobe Flash player

เมนู

ผลงานวิชาการ

Data Center

สำหรับเจ้าหน้าที่

ล็อกอิน

คุณอยู่ที่นี่

หน้าแรก » คลังความรู้ » ความเข้าใจพื้นฐานต่อโรคโควิด

บทความความเข้าใจพื้นฐานต่อโรคโควิด ตอนที่ 13 โควิด Herd Immunity เส้นทางที่ไทยไม่เลือก
     เพราะโรคโควิดสร้างความสูญเสียมากในคนสูงอายุ แต่เด็กและหนุ่มสาวกลับมีอัตราการตายต่ำมากๆๆ คือต่ำกว่า 0.2% หรือเท่าๆกับไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ส่วนใหญ่มีอาการแต่เพียงเล็กน้อย เมื่ออัตราตายเป็นเช่นนี้ จึงเป็นที่มาของทฤษฎี herd immunity หรือการทำให้เกิดภูมิต้านทานหมู่เพื่อหยุดการระบาดของโรคโตวิด
     อังกฤษได้นำมาใช้ในช่วงแรก คือ จัดให้มีการจัดคอนเสริตให้หนุ่มสาวร่วมสนุก เพื่อทำให้เกิดภูมิต้านทานหมู่ หากหนุ่มสาวกลุ่มใหญ่รับเชื้อแล้วทุกคนเกิดภูมิขึ้นมา โรคก็จะหยุดการระบาดลงได้ แต่สิ่งสำคัญยิ่งตามแนวทางการสร้าง herd immunity คือต้องปกป้องผู้สูงอายุไม่ให้ติดเชื้อในระหว่างที่ระบาดในหมู่คนหนุ่มสาว ซึ่งอังกฤษทำไม่สำเร็จ
     ขอย้ำว่า หากจะใช้ทฤษฎีนี้ในการยุติการระบาดก็ต้องมั่นใจว่า เราต้องสามารถปกป้องผู้สูงอายุไม่ให้ติดเชื้อได้ หรือหากติดเชื้อก็ต้องพร้อมที่จะมีระบบการตรวจ การรักษาที่รวดเร็ว เพื่อไม่ให้ลุกลามจนเป็นปอดบวมรุนแรงแล้วค่อยมารักษา ซึ่งก็จะรักษาไม่ค่อยจะทัน มีเตียง มีโรงพยาบาล มี ICU ที่เพียงพอ ซึ่งในความเป็นจริงนั้นยากมากๆ
     ปรากฏการณ์การติดเชื้อนั้นจะเป็นเหมือนภูเขาน้ำแข็ง หากเราตรวจพบคนที่มีเชื้อหลักหมื่นแท้จริงมีคนที่ติดเชื้อแล้วหลักแสนเพราะส่วนใหญ่ของการติดเชื้อนั้นไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยและไม่ได้ไปหาหมอ เมื่อติดเชื้อแล้วก็จะมีภูมิในคนนั้น ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม
     ทำไม herd immunity จึงช่วยหยุดการระบาดได้ ก็ง่ายๆคือ เมื่อคนติดเชื้อใหม่แพร่เชื้อสู่ผู้สัมผัสที่มีภูมิแล้ว เชื้อก็แพร่ต่อไม่ได้ จึงทำให้การแพร่อยู่ในวงจำกัด เมื่อวงระบาดถูกจำกัด คนเกิดภูมิมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกินครึ่งของสังคม การระบาดก็จะค่อยๆยุติลงไป
     ทราบข่าวมาว่า ที่เยอรมัน ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อมีการระบาดค่อนข้างกว้างขวางแล้ว เขาได้ตรวจหาภูมิต้านทานในหมู่ประชาชน หากใครมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโควิดแล้ว ก็จะสามารถไปทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เต็มที่ สามารถทำงานดูแลผู้ติดเชื้อโควิดได้ ค่าแรงแพงและไม่ต้องกลัวติดเชื้ออีก เพื่อใเศรษฐกิจและระบบในสังคมสามารถเดินหน้าได้ไม่ชงักงันนานเกินไป
     แต่ละประเทศก็มีบุคลิกการควบคุมโรคภายในบริบทและวิธีการจัดการที่แตกต่างออกไปตามแต่บทเรียน ทรัพยากร ความพร้อมของภาคสุขภาพและความเข้มแข็งของภาครัฐและภาคประชาชน

นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ 17 เมษายน 2563

 

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง








Facebook