Get Adobe Flash player

เมนู

ผลงานวิชาการ

Data Center

สำหรับเจ้าหน้าที่

ล็อกอิน

คุณอยู่ที่นี่

หน้าแรก » คลังความรู้ » ความเข้าใจพื้นฐานต่อโรคโควิด

บทความความเข้าใจพื้นฐานต่อโรคโควิด ตอนที่ 11 โควิด เคยติดเชื้อแล้วยังเป็นซ้ำได้อีก แบบนี้จะไหวหรือหมอ
     ข่าวที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับความมหาประลัยของโรคโควิดข่าวหนึ่งคือ “เคยป่วยเป็นโควิดมาแล้ว ยังสามารถติดเชื้อเป็นซ้ำได้อีก” ข่าวนี้จริงไหม คำตอบคือ “จริง” แล้วข่าวนี้น่ากลัวไหม คำตอบคือ “ไม่” ทำไมข่าวจริงนี้จึงไม่น่าตระหนก
     ปกติระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะมีการตอบสนองต่อเชื้อโรค หากมีการติดเชื้อร่างกายก็จะค่อยๆสร้างภูมิตุ้มกัน (antibody) ที่จำเพาะต่อเชื้อนั้นๆขึ้นมา พอเราหายป่วย ภูมิที่สร้างขึ้นมานั้นก็จะปกป้องเราในการไม่ให้ติดเชื้อครั้งต่อไป หลายๆกรณีโดยเฉพาะเชื้อไวรัส ภูมิที่สร้างขึ้นมานั้นจะมีภูมิไปตลอดชีวิต คือติดเชื้อแล้วจะไม่เป็นซ้ำอีก เชื้อโควิดก็เช่นกัน แต่แน่นอนว่า “ทุกกรณีมีข้อยกเว้น”
     หลักการนี้จึงนำมาสู่การผลิตวัคซีน ซึ่งก็คือการใส่เชื้อโรคที่อ่อนแรงมากๆแล้วหรือส่วนประกอบของเชื้อโรคนั้นๆเข้าไปในร่างกาย เสมือนว่าเราได้รับเชื้อโดยไม่ทำให้เราเป็นโรค ร่างกายก็จะตอบสนองโดยการสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา เมื่อติดเชื้อจริง เราที่มีภูมิอยู่ก่อนแล้ว ก็จะไม่ป่วยไม่ติดโรค
     ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ คนที่เป็นโรคอีสุกอีใสแล้ว (ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสเช่นกัน) บางคนก็เป็นซ้ำได้ แต่ส่วนน้อยมาก เพราะคนๆนั้นในช่วงที่ป่วยรอบแรกไม่ได้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด เมื่อติดเชื้อซ้ำและยังไม่มีภูมิก็เกิดโรคซ้ำขึ้นมาได้ แต่ในตำราฝรั่งเขียนไว้ชัดเจนว่า โอกาสการติดเชื้อซ้ำนั้น “extremely rare” หรือ “พบได้น้อยมากๆ”
     กรณีเชื้อโควิดก็เช่นเดียวกันกับเชื้อโรคตัวอื่น ถ้าการติดเชื้อไปแล้ว ภูมิไม่ขึ้นก็จะติดเชื้อได้อีก แต่เป็น “ rare case” หรือ “พบได้น้อยมาก”
     อย่างไรก็ตามกรณีที่พบได้น้อยเช่นนี้ ก็จะมีความน่าตื่นเต้นในแง่การข่าว สร้างความตกตะลึงในเชิงความอยากรู้บอกต่อ ซึ่งนี่ไม่ใช่ fake news เป็นข่าวจริง แต่โอกาสที่จะพบผู้ป่วยเช่นนั้นน้อยมากๆ
     ตอนผมเรียนหนังสือ อาจารย์สอนไว้ว่า “Nothing 100% in Medicine” หรือ “ไม่มีอะไร 100% ทางการแพทย์” ทุกกรณีมีข้อยกเว้น แต่ถ้าโอกาสที่พบนั้นน้อยมากๆ ก็เพียงรับรู้รับทราบไว้ ไม่น่าต้องตื่นตระหนกครับ

นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ 15 เมษายน 2563

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง








Facebook